http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

อย. แนะ กินวิตามินดี อย่างปลอดภัย

อย. แนะ กินวิตามินดี อย่างปลอดภัย

อย. เผย ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีวิตามินดีที่ได้ อย. ในประเทศไทย มีความปลอดภัย หากรับประทานตามข้อแนะนำบนฉลาก

กรณีข่าวต่างประเทศพบชายวัย 89 ปีเสียชีวิตจากกินวิตามินดีในปริมาณสูงนาน 9 เดือน โดยทางนิติเวชได้ร้องเรียนให้มีการเขียนคำเตือนลงบนบรรจุภัณฑ์ด้วย เภสัชกรเลิศชาย เลิศวุฒิ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีวิตามินดีที่ได้ อย. ในประเทศไทย มีความปลอดภัยหากรับประทานตามข้อแนะนำบนฉลาก ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยฉลากโภชนาการและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร กำหนดค่าสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคประจำวันสำหรับคนไทย (THAI RECOMMENED DAILY INTAKES : Thai RDI) และปริมาณของวิตามินดีในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารได้ไม่เกิน 15 ไมโครกรัมต่อวัน และกำหนดให้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทุกชนิดต้องแสดงคำเตือนในการบริโภค ได้แก่ “เด็กและสตรีมีครรภ์ ไม่ควรรับประทาน” “ควรกินอาหารหลากหลาย ครบ 5 หมู่ ในสัดส่วนที่เหมาะสมเป็นประจำ” และ “ไม่มีผลในการป้องกัน หรือรักษาโรค” เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค

วิตามินดีเป็นวิตามินที่สำคัญตัวหนึ่งของร่างกาย ที่มีบทบาทในเรื่องการเสริมสร้างสุขภาพของร่างกายในหลายด้าน โดยเฉพาะถ้าขาดวิตามินดี ในช่วงวัยเด็กจะทำให้เกิดเป็นโรคกระดูกอ่อนหรือโรคกระดูกน่วมในผู้ใหญ่อาจนำไปสู่การเกิดภาวะกระดูกพรุน ซึ่งก็จะพบมีภาวะวิตามินดีในเลือดต่ำเช่นกัน สำหรับผู้ใหญ่ ปริมาณวิตามินดีที่แนะนำให้รับประทานคือ 15 ไมโครกรัมต่อวัน ทั้งนี้ การรับแสงแดดในตอนเช้าก่อนเวลา 08.00 น. 15 - 30 นาที 3 ครั้ง/สัปดาห์ จะช่วยให้ได้รับวิตามินดี อย่างไรก็ตาม ไม่ควรรับประทานมากกว่า 100 ไมโครกรัมต่อวัน เพราะอาจทำให้แคลเซียมในเลือดสูงและเป็นอันตรายต่อร่างกาย อันเนื่องมาจากวิตามินดีได้

รองเลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า ในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ผู้บริโภคควรตรวจสอบว่าได้รับอนุญาตถูกต้อง โดยดูจากเลขสารบบอาหาร หรือ เลข อย.  ชื่อและที่อยู่ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า สูตรส่วนประกอบ วิธีใช้ที่ถูกต้อง คำเตือนหรือข้อแนะนำบนฉลาก วันเดือนปีที่หมดอายุและควรรับประทาน และปฏิบัติตามข้อแนะนำ และคำเตือนบนฉลาก  ผู้ป่วยที่มีภาวะโรคกระดูกพรุน โรคไตเรื้อรัง โรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์หรือโรค hypercalcemia ที่จะรับประทานวิตามินดี ควรปรึกษาแพทย์ก่อน


https://oryor.com/media/newsUpdate/media_news/2733?fbclid=IwAR0EPnxV6rnOAvNH1aC5Vn2rrlsvK80Q0uwGiLlZw5cPAbdhTvjmfH1cLGI

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,744,348
Page Views2,009,520
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view